HOME ISSUE

SECTION

ABOUT

SERVING YOU


Money Master

เพราะการเงินดี ชีวิตก็ดีตาม กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรตั้งใจส่งมอบความรู้ทางการเงินจากผู้เชี่ยวชาญให้เข้าใจง่าย พร้อมสำหรับการปรับใช้สู่การเป็นอิสระทางการเงินอย่างยั่งยืน


31 สิงหาคม 2567

ไม่ว่าจะในยุคสมัยที่เศรษฐกิจไทยจะฝืดเคืองหรือรุ่งเรืองก็ตาม หนึ่งในปัญหาหลักของหลายครัวเรือนก็ยังหนีเรื่อง ‘การเงิน’ ไม่พ้น

ตั้งแต่เรื่องหนี้สิน โดยเฉพาะสินเชื่อนอกระบบ ที่บ่อยครั้งเกิดจากความจำเป็นอันเลี่ยงไม่ได้มากกว่าความฟุ่มเฟือย หรือหนี้บัตรเครดิต ซึ่งกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของลูกหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดในไทยมียอดหนี้รวมสูงถึง 10-25 เท่าของรายได้ต่อเดือน เช่นเดียวกัน การไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน ไม่มีเงินใช้ยามเกษียณ การโดนมิจฉาชีพหลอก หรือแม้กระทั่งความตั้งใจในการลงทุนที่เน้น ‘เสี่ยงดวง’ หรือหลงเชื่อผู้อื่นโดยไม่มีความรู้เท่าทัน คืออีกหลากหลายเรื่องราวอันสามัญของชีวิตการเงินคนไทย

ในฐานะสถาบันทางการเงินที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 50 ปี กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรเล็งเห็นความสำคัญถึงการส่งมอบความรู้ด้านการเงินส่วนบุคคลในรูปแบบที่เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง จึงเกิดเป็นโครงการ KKP Financial Literacy หรือ KKP FinLit ที่ได้ดำเนินมากว่าสิบปีแล้ว และยังมีการขยายผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบความรู้ให้ทั้งพนักงานของเกียรตินาคินภัทร บุคลากรขององค์กรคู่ค้า เยาวชน ตลอดจนบุคคลทั่วไปในสังคม โดยหวังมีส่วนช่วยให้ทุกคน มีความรู้พื้นฐานแข็งแรงพอที่จะวางแผนทางการเงิน สู่การมีอิสรภาพทางการเงินอย่างยั่งยืนตลอดชีวิต

ความรู้สึก ‘เสียดาย’ ถึงการตัดสินใจในอดีตที่ทำให้ปัจจุบันมีความติดขัดหรือท้าทายทางการเงินไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะในช่วงแรกเริ่มที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็นนักเรียนนักศึกษาสู่การดูแลตัวเองเต็มตัวหรือเป็นเสาหลัก มีคนเพียงจำนวนน้อยที่มีความรู้ด้านการเงินเพียงพอ

การเงินใกล้ตัวกว่าที่คิด

ความตระหนักถึงเรื่องความสำคัญของ Financial Literacy หรือความรู้ด้านการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หน่วยงานและองค์กรด้านการเงินหลายแห่งในประเทศก็ได้พยายามส่งเสริมเรื่องนี้ดังเช่นที่มีโครงการรณรงค์สร้างวินัยทางการเงินต่างๆ ออกมาภายใต้หลากหลายกรอบความคิด แต่ในส่วนของโครงการ KKP Financial Literacy ของ KKP นั้น จะใช้หลัก ‘4 รู้ สู่ความมั่งคั่ง’ ซึ่งก็คือ รู้หา รู้เก็บ รู้ใช้ และรู้ขยายดอกผล โดยหนึ่งในกิจกรรมหลักของโครงการคือการออกเดินสายบรรยายหลักสูตรทางการเงินสั้นๆ ที่ออกแบบเนื้อหาและวิธีการสอนตามแต่ความต้องการและลักษณะของผู้ฟัง ไม่ว่านักเรียน นักศึกษา ชุมชนในจังหวัดต่างๆ หรือพนักงานในหลายบริษัท โดยมีวิทยากรจิตอาสาจากพนักงาน KKP ซึ่งได้ผ่านการอบรมการเป็นวิทยากรและได้รับประกาศนียบัตร ตามความมุ่งมั่นที่จะใช้ศักยภาพด้านความรู้ความเชี่ยวชาญทางการเงินในองค์กร เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเงินของผู้คน ซึ่งสุดท้ายย่อมจะสะท้อนกลับมาเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้เจตนารมณ์ในการมุ่งมั่นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน

#เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้

“รู้งี้ยังไม่รีบซื้อรถ เอาเงินไปโปะค่าผ่อนคอนโดก่อน”

“รู้งี้เริ่มลงทุนทีละเล็กน้อยตั้งแต่ตอนเริ่มทำงานแรกๆ”

“รู้งี้ซื้อประกันสุขภาพไว้ดีกว่า ใครจะไปคิดว่าจะต้องเข้าโรงพยาบาลนานขนาดนี้”

สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีเงินสำรองฉุกเฉินหรือเงินเก็บ หรือไม่มีการวางแผนการเงินที่เคร่งครัด ความสุขชั่วคราวนี้อาจนำมาซึ่งความทุกข์ยืดเยื้อไปอีกหลายปี จนต้องรู้สึกเสียดายว่า “รู้งี้” รู้จักเก็บ รู้จักลงทุน รู้จักบริหารเงินไว้เพื่อให้มีความสบายใจอย่างยั่งยืนคงดีกว่า

ความรู้สึก ‘เสียดาย’ ถึงการตัดสินใจในอดีตที่ทำให้ปัจจุบันมีความติดขัดหรือท้าทายทางการเงินไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะในช่วงแรกเริ่มที่เปลี่ยนผ่านจากการเป็นนักเรียนนักศึกษาสู่การดูแลตัวเองเต็มตัวหรือเป็นเสาหลักของบ้านนั้น พบว่ามีคนเพียงจำนวนน้อยที่มีความรู้ด้านการเงินเพียงพอจะเริ่มต้นบริหารชีวิตทางการเงินของตัวเองได้อย่างรวดเร็วและมีวินัย ซึ่งผลที่ตามมาอาจเป็นได้ตั้งแต่การมีเงินเก็บจำกัด ต้องใช้เงินแบบเดือนชนเดือน ไม่มีเงินสำรองใช้ยามมีเรื่องฉุกเฉิน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นมีหนี้สินท่วม ทำให้ชีวิตไร้อิสระจากการมีภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้จบ

ยิ่งไปกว่านั้น โซเชียลมีเดียที่ทำให้ผู้คนอยู่ในการรับรู้ถึงภาพชีวิตด้านดีของผู้อื่นตลอดเวลาในแทบทุกอิริยาบถการกินอยู่หรือใช้ชีวิต ได้สร้างความอยากมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกมิติ และบางครั้งก็นำไปสู่การยอมจ่ายเงินเกินตัวเพื่อสนองความต้องการ ดังนั้น จากค่านิยมการใช้จ่ายในอดีตที่เน้นประหยัดเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว แนวคิดทำนอง “ชอบก็จัด ประหยัดทำไม” หรือ “ของมันต้องมี” ก็กลายเป็นสิ่งที่เข้ามาแทนที่ ซึ่งแม้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีเงินสำรองฉุกเฉินหรือเงินเก็บ หรือไม่มีการวางแผนการเงินที่เคร่งครัด ความสุขชั่วคราวนี้อาจนำมาซึ่งความทุกข์ยืดเยื้อไปอีกหลายปี จนต้องรู้สึกเสียดายว่า “รู้งี้” รู้จักเก็บ รู้จักลงทุน รู้จักบริหารเงินไว้เพื่อให้มีความสบายใจอย่างยั่งยืนคงดีกว่า

ความเข้าใจหัวอกทางการเงินจากประสบการณ์การทำโครงการตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2024 นี้ ทาง KKP ได้รุกขยายช่องทางการให้ความรู้ทางการเงิน โดยร่วมมือกับสื่อการเงินค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง Thairath Money ทำแคมเปญ ‘เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้’ เพื่อต่อยอดความเชี่ยวขาญด้านการเงินของ KKP กับไทยรัฐ สื่อที่อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน และเข้าถึงสังคมไทยในวงกว้างมาขยายผลในด้านยุทธศาสตร์การสื่อสาร โดยจุดเด่นของเนื้อหาด้านการเงินในแคมเปญเรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ คือการเล่าเรื่องที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงของผู้ประกาศข่าวไทยรัฐทีวี, KOLs(Key Opinion Leaders), ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่มาร่วมแชร์ปัญหาที่เคยพบ หนทางแก้ไข และคำแนะนำในฐานะเพื่อนร่วมความจำเป็นในการบริหารการเงิน นอกจากนี้ ยังมีแผนการทำวิดีโอแบบไลฟ์สตรีมมิงโดยให้ผู้เชี่ยวชาญของ KKP มาให้ความรู้ หรือนำปฏิบัติกิจกรรม ที่กระตุ้นให้คนได้เริ่มลงมือเริ่มบริหารการเงินของตนเอง

ความรู้คู่วินัย เปลี่ยนชีวิตได้จริง

ตลอดเวลานับสิบปีที่ KKP ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการเงิน ผลลัพธ์ที่ได้ของโครงการไม่เพียงเกิดขึ้นกับผู้คนในสังคม แต่ยังรวมถึงบุคลากรภายในองค์กร กล่าวคือพนักงานที่ได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญมาร่วมเป็นวิทยากรจิตอาสาต่างพบว่าตนเองได้เรียนรู้เพิ่มเติม ได้รับประสบการณ์ที่มีค่า และความรู้สึกอิ่มเอมใจที่ได้ส่งต่อความรู้เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อื่น ในขณะที่ผู้เข้ารับการอบรม ก็ได้รับความรู้ในระดับที่อาจเรียกได้ว่า ‘เปลี่ยนชีวิต’ ตัวเองได้เลยทีเดียว

เช่น คลิปวิดีโอยูทูปของ SET Thailand ซึ่งออกเผยแพร่เมื่อเดือนมีนาคม 2023 พนักงานของ KKP ได้แบ่งปันถึงการได้รับความสนับสนุนเรื่องการบริหารจัดการเงินจากองค์กรโดยมีที่ปรึกษาดูแลตัวต่อตัว ทำให้พนักงานท่านนี้ที่มีปัญหาจากการเป็นหนี้นอกระบบที่ดูไร้ทางออกจนรู้สึกเหมือนจมน้ำ ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการบริหารเงิน การจดรายรับรายจ่ายและการเก็บออมอย่างมีวินัย จนค่อยๆ แก้ปมปัญหาในทีละเปลาะและปัจจุบันไม่มีหนี้นอกระบบอีกต่อไปแล้ว (คลิกลิงก์เพื่อรับชม)

เช่นเดียวกัน พนักงานรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยจากบริษัทรักษาความปลอดภัยไอเอฟเอส (IFS Security Guarding) ผู้ดูแลอาคารเคเคพี ทาวเวอร์ ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้เข้าร่วมโครงการ KKP FinLit และเรียนเรื่อง ‘4 รู้’ แต่เน้นเรื่องพื้นฐานที่สุดอย่างการจดรายรับรายจ่ายเป็นพิเศษ โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่ต่อเนื่อง มีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ทำให้พนักงานกลุ่มนี้มีเงินเก็บออมมากขึ้นจากการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ลอตเตอรี่หรือเครื่องดื่มสันทนาการ และมีหนทางหารายได้เพิ่มขึ้นจากการทำขนมขาย โดยเรื่องราวลักษณะนี้ยังมีอีกมาก จากโครงการส่งเสริมความรู้ของ KKP ที่พยายามเข้าถึงผู้คนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา หน่วยงานรัฐ ตลอดจนบริษัทที่ติดต่อเข้ามาเพื่อให้บุคลากรของ KKP เข้าไปช่วยจุดประกายความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิต ติดอาวุธให้สุขภาพการเงินดีขึ้น

สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถติดตามคอนเทนต์ ‘เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้’ หรือข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ KKP FinLit จุดประกายชีวิต ติดอาวุธทางการเงิน ได้ทางเฟสบุ๊ก Kiatnakin Phatra และหากต้องการอัพเดตความรู้ด้านการเงินด้วยตนเองสามารถเข้าไปดูได้ที่ https://advicecenter.kkpfg.com/