HOME ISSUE

SECTION

ABOUT

ECONOMIC REVIEW


อายุยืน 100+ ปี เพราะอะไร?

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ที่ปรึกษา
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร


31 สิงหาคม 2567

ผมคิดว่า หนังสือสุขภาพที่น่าอ่านมากที่สุดเล่มหนึ่งคือ Outlive: The Science and Art of Longevity เขียนโดย Dr.Peter Attia ที่ผันตัวเองออกมาจากการเป็นหมอรักษา (และผ่าตัด) โรคมะเร็ง มาเป็นผู้ขับเคลื่อนแนวคิดที่เขาเรียกว่า Medicine 3.0 คือ การดูแลและตรวจสุขภาพของตัวเองอย่างเป็นระบบเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายต้องป่วยจากโรคต่างๆ ตอนอายุมาก ซึ่งก็คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบตัน มะเร็ง สมองเสื่อมและเบาหวาน เป็นต้น

หมายความว่าดอกเตอร์แอทเทียนำเสนอวิธีดำเนินชีวิตเพื่อไม่ให้เป็นโรคดังกล่าวทั้งหมดให้ได้ ไม่ใช่รอวันให้เป็นโรคใดโรคหนึ่งแล้วจึงเข้ารับการรักษาทีละโรค หรือต้องทุกข์ทรมานให้โรคดังกล่าวมารุมเร้าพร้อมกัน ตอนบั้นปลายของชีวิต

สำหรับบทความนี้ ผมจะขอนำเฉพาะบทที่ 4 ของหนังสือดังกล่าวมาสรุปให้อ่านกัน เพื่อให้เห็นว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาที่ค่อนข้างจะเข้มข้นและอุดมด้วยวิชาการอย่างมาก

บทที่ 4 เขียนถึง Centenarians หรือคนที่อายุยืน 100 ปีหรือมากกว่า ซึ่งคนกลุ่มนี้มีสัดส่วนเพียง 1 คนจากประชากร 3,333 คนที่สหรัฐอเมริกา ส่วนกลุ่มที่ต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษคือคนที่อายุ 110 ปีขึ้นไป (Supercentenarians) ซึ่งน่าจะมีอยู่เพียง 300 คนบนโลกใบนี้ ณ ปัจจุบัน หายากยิ่งกว่ามหาเศรษฐีเงินพันล้านเหรียญ ซึ่งบนโลกนี้ ณ ปัจจุบันมีอยู่ 2,700 คน

ทำไมคนกลุ่มนี้จึงอายุยืนผิดปกติ? คำตอบคือ คนกลุ่มนี้ไม่ได้พยายามดูแลสุขภาพตัวเองและดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวังแต่อย่างใด ตรงกันข้าม จะสูบบุหรี่ กินเหล้า และไม่ค่อยออกกำลังกาย เช่น Jeanne Calment ชาวฝรั่งเศส ที่สามารถปั่นจักรยานได้จนกระทั่งอายุ 100 ปี และสูบบุหรี่มาตั้งแต่ตอนเป็นวัยรุ่น จนกระทั่งอายุ 117 ปี และเสียชีวิตลงตอนอายุ 122 ปี เป็นมนุษย์ที่มีอายุยืนมากที่สุดในโลก (โดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจน ไม่ใช่อ้างเอาเอง)

ดังนั้น จึงสามารถสรุปเบื้องต้นได้ว่า คนกลุ่มนี้น่าจะมียีนส์ (พันธุกรรม) ที่ทำให้อายุยืนผิดจากคนปกติ ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่วิจัยต่อคือ การถอดรหัสพันธุกรรมของคนกลุ่มนี้มาดูว่า ยีนส์ตัวไหนกันแน่ทำให้คนกลุ่มนี้อายุยืนผิดมนุษย์คนอื่นๆ

คนกลุ่มนี้ไม่ได้พยายามดูแลสุขภาพตัวเองและดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวังแต่อย่างใด แต่คนกลุ่มนี้น่าจะมียีนส์ที่ทำให้อายุยืนผิดจากคนปกติ ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่วิจัยต่อคือ การถอดรหัสพันธุกรรมของคนกลุ่มนี้มาดูว่า ยีนส์ตัวไหนกันแน่ทำให้คนกลุ่มนี้อายุยืนผิดมนุษย์คนอื่นๆ

ข่าวร้ายคือ เท่าที่ผ่านมาไม่สามารถระบุได้อย่างเฉพาะเจาะจงว่ายีนส์ประเภทใดหรือกลุ่มใดทำให้อายุยืน เพราะคนที่อายุยืนเกิน 100 ปีนั้น มีพันธุกรรมที่หลากหลายมาก แต่ก็พอค้นพบได้ว่ามียีนส์บางตัวที่โดดเด่นออกมาในการทำให้อายุยืน เช่น

1. ยีนส์ APOE ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ e2, e3 และ e4 คนที่โชคดีมี e2 และไม่มี e4 (จะต้องมี 1 คู่จากบิดาและมารดา) จะมีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีอายุยืนถึง 97 ปี สำหรับผู้ชายและถึง 100 ปีสำหรับผู้หญิง แต่หากมี e4 ทั้งคู่ ก็จะมีโอกาสที่จะอายุยืนเช่นที่กล่าวข้างต้นน้อยกว่าเฉลี่ยถึง 81 เปอร์เซ็นต์ (ปกติจะมี e3 ทั้งคู่) APOE นั้นยังมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิด (หรือไม่เกิด) โรคอัลไซเมอร์อีกด้วย เพราะมีหน้าที่ในการขนส่งคอเลสเตอรอลและมีบทบาทในการเผาผลาญน้ำตาล

2. ยีนส์ FOXO3 เป็นยีนส์ที่สั่งการให้ยีนส์อื่นๆ ทำหน้าที่ (ภาษาวิชาการเรียกว่า Transcription Factor) โดยจะสั่งการเกี่ยวกับการซ่อมแซมเซลล์ การเผาผลาญ การดูแลสเต็มเซลล์ การกำจัดของเสียให้ออกไปจากเซลล์ และอาจมีบทบาทในการป้องกันไม่ให้เซลล์แปรเปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็งอีกด้วย

3. ยีนส์ BRCA1 และ 2 นั้น หากมีการกลายพันธุ์ (Mutation) ก็จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งที่เต้านม เช่น สำหรับ BRCA1 นั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งที่เต้านมและมดลูกภายในอายุ 70 ปีจะสูงถึง 40-45 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น

ดังนั้นการจะ ‘รอ’ ให้รู้ว่ายีนส์ตัวใดเป็นยีนส์วิเศษที่จะทำให้อายุยืน คงจะต้องรอไปอีกนาน แต่จากการศึกษาคนที่อายุยืน 100 ปีหรือมากกว่าพบว่า คนกลุ่มนี้แตกต่างจากคนปกติตรงที่คนอายุ 100 ปีหรือมากกว่า จะชะลอการเป็นโรคต่างๆ ให้เกิดกับตัวพวกเขาช้ากว่าคนปกตินับสิบปี เช่น

1. สำหรับคนปกตินั้น ตอนอายุ 72 ปี จะพบว่า ประมาณ 1 ใน 5 (20 เปอร์เซ็นต์) ตรวจพบโรคมะเร็ง แต่สำหรับกลุ่มอายุ 100 ปีหรือมากกว่า จะพบว่า 1 ใน 5 เป็นโรคมะเร็งตอนอายุ 100 ปี

2. สำหรับคนปกติจะพบว่า ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของคนอายุ 75 ปี จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่สำหรับคนอายุ 100 ปีหรือมากกว่านั้น ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์จะเริ่มเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดตอนอายุ 92 ปี

3. สำหรับโรคกระดูกพรุนและโรคสมองเสื่อมนั้นก็คล้ายกัน คือ คนปกติจะเป็นโรคดังกล่าวก่อนคนอายุ 100 ปีหรือมากกว่าประมาณ 16 ปี

การที่ Rapamycin มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้อายุยืน แปลว่า ‘เคล็ดลับ’ ของการมีอายุยืนคือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันจะต้องมีความสมดุลไม่มากไป ไม่น้อยไป และการกินอาหารนั้นก็จะต้องจำกัดเช่นกัน ไม่ใช่พยายามกินเพื่อให้เติบโตและมีสารอาหารต่างๆ มากเกินความต้องการของร่างกาย

กล่าวโดยสรุปคือ คนอายุยืน 100 ปีหรือมากกว่านั้น มักจะไม่เป็นโรคต่างๆ ที่คนส่วนใหญ่เป็นกัน และหากเป็นก็จะช้ากว่านับสิบปี ผู้ที่อายุเกิน 100 ปีนั้น มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากสาเหตุใดๆ สูงมาก เช่นเมื่ออายุครบ 100 ปี การจะเสียชีวิตก่อนอายุครบ 101 ปีนั้นสูงถึง 36 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการติดเชื้อ (เช่นเสียชีวิตจากโรคปอดบวม) หรือโรคดังกล่าวข้างต้น

ข้อสรุปคืออะไร? ข้อสรุปของผมคือ การมีอายุที่ยืนเกินกว่าปกติมากนั้น ยีนส์เป็นตัวช่วยสำคัญอย่างมาก แต่ช่วยทำอะไรกันแน่ให้อายุยืน? หนังสือของปีเตอร์ แอทเทียเขียนต่อไปในบทที่ 5 (ชื่อบทคือ Eat Less, Live Longer?) เกี่ยวกับยาที่เรียกว่า Rapamycin ซึ่งเป็นยากดภูมิคุ้มกัน และมีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการควบคุมระบบการเผาผลาญอาหารและชะลอการเติบโตของเซลล์ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า mTOR หรือ Mechanistic Target of Rapamycin ซึ่งมีความสลับซับซ้อนค่อนข้างมาก แต่ผมจะขอสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. การที่ Rapamycin มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้อายุยืน แปลว่า ‘เคล็ดลับ’ ของการมีอายุยืนคือ การที่ระบบภูมิคุ้มกันจะต้องมีความสมดุลไม่มากไป ไม่น้อยไป และการกินอาหารนั้นก็จะต้องจำกัดเช่นกัน ไม่ใช่พยายามกินเพื่อให้เติบโตและมีสารอาหารต่างๆ มากเกินความต้องการของร่างกาย

2. การทำงานของ Rapamycin นั้น กลไกสำคัญอันหนึ่งคือ การกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme) ที่เรียกว่า AMPK เช่น เมื่อร่างกาย อดอาหารหรือออกกำลังกาย AMPK ที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มีการผลิต Mitochondria (ซึ่งเป็นเหมือนองค์กรอิสระที่สร้างพลังงานให้เซลล์ของเรา) เพิ่มขึ้น และกระตุ้นกระบวนการกลืนกินของเสียในเซลล์ (Autophagy) อีกด้วย กล่าวคือ Rapamycin มีส่วนทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นและฟื้นฟูตัวเอง

3. แต่ยังไม่มีการอนุมัติให้ทดลองการใช้ Rapamycin กับมนุษย์เพื่อชะลอความแก่ เพราะกลัวผลข้างเคียงที่ Rapamycin กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปัจจุบัน จึงมีการใช้สุนัขเป็นหนูทดลอง ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลการทดลองในสุนัขประมาณปี 2026 ครับ