SECTION
ABOUTECONOMIC REVIEW
จากประชานิยมไปสู่รัฐสวัสดิการ
30 มิถุนายน 2566
ในขณะที่เขียนบทความนี้ พรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคกำลังพยายามจัดตั้งรัฐบาลที่มีส.ส. รวมทั้งหมด 313 เสียง อันเป็นผลมาจากการเลือกตั้งที่พลิกความคาดหมาย (หักปากกาเซียน) สะท้อนความต้องการของประชาชนที่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงประเทศในทุกๆ มิติ คือ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ในความเห็นของผมนั้น ที่มาของความต้องการความเปลี่ยนแปลงนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่ได้เดินหน้าหรือพัฒนาไปในทิศทางที่ประชาชนส่วนใหญ่คาดหวังเอาไว้ และดูเหมือนว่ายืนอยู่กับที่ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ กำลังจะรุดหน้าแซงประเทศไทยไปเรื่อยๆ
น่าสนใจว่า ผลการเลือกตั้งที่เหนือความคาดหมายมากที่สุดคือการที่พรรคก้าวไกลได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนมากกว่าพรรคเพื่อไทย และเป็นการเพิ่มจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากอีกเท่าตัว เมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอนาคตใหม่ก่อนที่จะถูกยุบพรรค ซึ่งแปลว่า ประชาชนมีเจตนารมย์ที่แรงกล้าในการต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างกว้างขวางเกินกว่าที่พรรคเพื่อไทยนำเสนอ
ในเชิงเศรษฐกิจนั้น ผมจะขอสรุปว่า ความต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศของพรรคก้าวไกลที่สำคัญคือ การก้าวไปสู่ ‘รัฐสวัสดิการ’ ส่วนการเปลี่ยนแปลงแบบ ‘ขนานเดิม’ ของพรรคเพื่อไทยจะเป็นการเพิ่มเติมนโยบายประชานิยมและอื่นๆ
มาวันนี้ ได้มีการแข่งขันกันนำเสนอนโยบายประชานิยมโดยพรรคการเมืองทุกพรรคจนไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ที่เป็นเรื่องใหม่ (และประชาชนให้การตอบรับที่ดี) คือการนำประเทศไปสู่การเป็นรัฐสวัสดิการ
หากจำได้ ปี 2001 เป็นครั้งแรกที่พรรคไทยรักไทยนำเสนอนโยบายแปลกใหม่คือ นโยบายประชานิยม ซึ่งได้รับความนิยมจนสามารถคว้าชัยชนะเลือกตั้ง ได้จำนวนส.ส. เกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร แต่ในตอนนั้น นโยบายนี้ก็ถูกโจมตีอย่างหนักว่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบมากมาย แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งเพราะนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ช่วยให้การส่งออกสินค้าและบริการของไทยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จาก 76,000 ล้านเหรียญในปี 2001 มาเป็น 130,000 ล้านเหรียญในปี 2005 (ปีที่รัฐบาลถูกรัฐประหารยึดอำนาจ) ในช่วงเดียวกัน สัดส่วนของการส่งออกสินค้าและบริการของไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.25 ของจีดีพีมาเป็นร้อยละ 68.40 ของจีดีพี ทั้งนี้ ในช่วงเดียวกัน จีดีพีสามารถขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 5.4 ต่อปีในช่วง 5 ปีดังกล่าว
มาวันนี้ ได้มีการแข่งขันกันนำเสนอนโยบายประชานิยมโดยพรรคการเมืองทุกพรรคจนไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่ที่เป็นเรื่องใหม่ (และประชาชนให้การตอบรับที่ดี) คือการนำประเทศไปสู่การเป็นรัฐสวัสดิการโดยพรรคก้าวไกล ดังนั้นจึงควรมาทำความเข้าใจว่านโยบายประชานิยม (populist policies) นั้น แตกต่างจากรัฐสวัสดิการ (welfare state) อย่างไร
สำหรับนโยบายประชานิยม เราจะเข้าใจว่า เป็นนโยบายที่พยายามเอาใจประชาชนโดยการลดแลกแจกแถมในด้านต่างๆ เช่น การพักชำระหนี้และการแจกคอมพิวเตอร์พกพา เป็นต้น
แต่การไปสู่รัฐสวัสดิการนั้นคือการให้คำมั่นสัญญาจากรัฐว่าจะดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งจากประสบการณ์ของประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นรัฐสวัสดิการนั้น จะเห็นได้ว่า รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากราวร้อยละ 40 ของจีดีพีในการใช้จ่ายด้านการศึกษา สาธารณสุข และให้เบี้ยเลี้ยงให้กับผู้สูงอายุ โดยสองเรื่องหลังนั้นเป็นภาระที่หนักหน่วงที่สุดในประเทศพัฒนาแล้ว (เพราะประชาชนได้รับการศึกษาครบถ้วนไปก่อนหน้าแล้ว) ตัวอย่างเช่นที่สหรัฐอเมริกา ที่มีปัญหาถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับการสรรหางบประมาณให้เพียงพอกับความต้องการด้านสาธารณสุข ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสก็กำลังมีการเดินขบวนคัดค้านการปรับขึ้นอายุเกษียณเพื่อลดภาระของรัฐบาลในการจ่ายเบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ
แต่ในขณะเดียวกัน การทำให้รัฐบาลมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมาก และมีอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมาก (เพราะจะต้องเก็บภาษีคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 30-40 ของจีดีพี) นั้น ก็จะเป็นการย้อนแย้งกับความต้องการเรื่องการกระจายอำนาจแล้วจะมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าหรือไม่? คำตอบคือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก
การก้าวสู่การเป็นรัฐสวัสดิการนั้นแปลว่า รัฐบาลจะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมาก จากที่ปัจจุบันประเทศไทยมีการเก็บภาษีประมาณร้อยละ 15 ของจีดีพีก็คงจะต้องเก็บภาษีเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว รัฐสวัสดิการนั้นเปรียบเสมือนว่ารัฐบาลเป็น ‘พี่ใหญ่’ ของประชาชน ในขณะที่ผมอยากให้รัฐบาลเป็น ‘ลูกน้อง’ ประชาชนมากกว่า
อย่างไรก็ดี ระบบทุนนิยมของไทยในช่วง10-15ปีที่ผ่านมานั้น ถูกตำหนิ (อย่างถูกต้อง) ว่าเป็นทุนผูกขาด โดยเฉพาะส่วนที่ผูกขาดโดยอาศัยอำนาจรัฐ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ‘รวยกระจุก จนกระจาย’ จึงมีกระแสตีกลับให้เก็บภาษีคนรวยมาให้คนจนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
แต่ในขณะเดียวกัน การทำให้รัฐบาลมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างมาก และมีอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างมาก (เพราะจะต้องเก็บภาษีคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30-40 ของจีดีพี) นั้น ก็จะเป็นการย้อนแย้งกับความต้องการเรื่องการกระจายอำนาจ
แล้วจะมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าหรือไม่? คำตอบคือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก อย่างไรก็ดี มีตัวอย่างที่คนไทยทำได้แล้วคือ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งในตอนแรกที่นำเสนอก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า ทำไม่ได้หรือทำแล้วจะเปลืองงบประมาณอย่างมาก แต่ผลปรากฏว่า
1. ประชากรที่เข้าถึงบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 69 ของประชากรทั้งหมดในปี 2001 มาเป็นร้อยละ 97.8 ในปี 2006 ซึ่งแปลว่า มีคนไทยเข้าถึงบริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้นถึง 19 ล้านคน
2. ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจริง แต่สัดส่วนของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขต่อจีดีพีไม่ได้เพิ่มขึ้น คือในปี 2001 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.1 ของจีดีพี และในปี 2006 ก็ยังอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของจีดีพี
กล่าวโดยสรุปคือ อยากได้ ‘Small but Smart Government’ ครับ ■