SECTION
ABOUTCLIENT VALUES
สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล กับการสืบทอดธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง
การก้าวผ่านครึ่งศตวรรษของ Superrich Thailand อย่างสง่างามด้วยความร่วมมือของคนทุกรุ่นในองค์กรไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน
นับจากวันที่ครอบครัวสุสมาวัตนะกุล ตัดสินใจก่อตั้งธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ Superrich Thailand เมื่อ 50 ปีที่แล้วโดยยึดหลักการให้อัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุดกับลูกค้า ปัจจุบัน Superrich Thailand ได้กลายเป็นชื่อสามัญประจำบ้านที่ผู้บริโภคมักนึกถึงเมื่อต้องการแลกเงิน
แต่การปรับเปลี่ยนธุรกิจครอบครัวให้เป็นองค์กรมืออาชีพที่ก้าวทันยุคสมัยไม่ใช่เรื่องง่าย อะไรคือสิ่งที่สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล ทายาทรุ่นที่ 2 แห่ง Superrich Thailand ใช้ขับเคลื่อนกิจการให้ไปได้ไกลกว่าการเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเงินตรา และสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านชีวิตและความสุขให้กับคนในองค์กร
อิสระที่ได้เลือก
เราคลุกคลีกับคุณพ่อคุณแม่ที่ออฟฟิศ ก็เห็นเงินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ตอนแรกไม่ได้รู้สึกว่าสนุก รู้แค่ว่าโตขึ้นมาก็ต้องทำอันนี้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ได้บังคับ เราจะเลือกเรียนอะไรก็ได้ เลยเลือกเรียนวารสารศาสตร์ ความจริงเลือกบัญชีไว้ด้วย แต่พอดีตอนม. 5 ได้ไปเรียนแลกเปลี่ยนที่แคนาดา ทำให้รู้ว่าชอบชีวิตอิสระ เลยไม่เอาบัญชีเป็นตัวเลือกแรก แล้วรู้ว่าสุดท้ายอะไรที่จำเป็นไปเรียนโทเพิ่มเอาก็ได้ ในที่สุดจึงไปเรียนต่อการตลาดที่อังกฤษก่อนจะมาทำงานที่บ้าน
พอได้ขยายมุมมองแล้วทำให้เราเริ่มปรับ ไม่ได้มองแบบเห็นตัวเองคนเดียว แต่มองดูความสัมพันธ์ทุกที่ ดูเรา ดูอีกฝ่าย ดูบริบทอื่นๆ ซึ่งถ้าเราเห็นทั้งหมดอย่างนี้แล้วเลือกทำอะไร ก็จะไม่เกิดผลกระทบเสียหาย แต่ถ้ามองมาจากเราคนเดียว มันจะสร้าง ผลกระทบในบริบทรอบๆ
มุมมองต่าง
ตอนที่ไปอยู่แคนาดา มันต่างไปจากที่นี่มาก เป็นเมืองเล็กไม่อยู่ในแผนที่ชื่อแคมแซก สนามบินที่ใกล้ที่สุดต้องขับรถไป 3 ชั่วโมง วัฒนธรรม ความคิด วิธีการสื่อสารของเขามันแตกต่างกับคนไทยชัดเจน เราสั่งสมกรอบบางอย่างมาเป็นสิบกว่าปี พอได้เดินทางไปที่นั่น มันเห็นความต่าง อาจจะไม่ถึงกับทำให้เราหลุดจากกรอบเดิม แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าชีวิตมันมีมุมมองอื่น
ช็อกวัฒนธรรม
ตอนเข้ามาทำงานเริ่มแรกก็เรียกว่า ‘ช็อก’ เหมือนกัน เพราะโครงสร้างเป็นแบบครอบครัวมากๆ คือแทบจะไม่ได้มีโครงสร้างเลย เราต้องทั้งบริหารจัดการอารมณ์ตัวเอง ทั้งต้องเรียนรู้เรื่องงานเอง เพราะทุกคนยุ่งอยู่กับงานของตัวจนไม่มีเวลาสอน เราก็เวียนไปทำตั้งแต่รับโทรศัพท์ บอกเรท ส่งเอกสาร หัดนับเงิน หัดดูแบงก์ปลอมเหมือนเด็กฝึกงาน เรียนรู้จากความผิดพลาดไปเรื่อยๆ
จุดเปลี่ยน
ด้วยความที่เราจบด้านการตลาด เราก็อยากจะเปลี่ยนทุกอย่างไปหมดโดยที่ยังไม่เข้าใจว่าในองค์กรมีวัฒนธรรมดั้งเดิมอะไรอยู่ ไม่เห็นคุณค่าของประสบการณ์คนเก่าแก่ พอไปพยายามปรับด้วยความไม่เข้าใจ มันก็เลยไม่เกิดผลอะไรขึ้น หลายช่วงถึงกับรู้สึกว่าอยู่ไม่ไหวแล้ว เพราะเราเป็นคนชอบทำอะไรเร็วๆ แต่อยู่มา 4-5 ปี แล้วยังทำอะไรไม่ได้ก็เลยอึดอัด อยากยอมแพ้ไปทำงานที่อื่น แต่พอถึงจุดต่ำสุดแล้ว เรานึกขึ้นมาว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สร้างมาทั้งหมดมันจะได้เท่านี้เหรอ ก็เลยเริ่มใหม่ พอดีกับได้มาเจอกับดร.ขวัญนภา ชูแสง นักจิตวิทยาด้านการจัดการด้วย ทำให้เรารู้ว่าเรามองแคบเอง ไม่เข้าใจเรื่อง generation ได้แต่พูดว่า นี่คนเก่า นี่คนใหม่ แบ่งแยกคนตั้งแต่ยังไม่ทำอะไร พอได้ขยายมุมมองแล้วทำให้เราเริ่มปรับ ไม่ได้มองแบบเห็นตัวเองคนเดียว แต่มองดูความสัมพันธ์ทุกที่ ดูเรา ดูอีกฝ่าย ดูบริบทอื่นๆ ซึ่งถ้าเราเห็นทั้งหมดอย่างนี้แล้วเลือกทำอะไร ก็จะไม่เกิดผลกระทบเสียหาย แต่ถ้ามองมาจากเราคนเดียว มันจะสร้างผลกระทบในบริบทรอบๆ
การสื่อสาร
เราเริ่มมองออกว่าองค์กรไม่มีการสื่อสาร แต่ละคนทำงานของตัวเอง ทำให้คนแต่ละรุ่นไม่เห็นคุณค่าของกันและกัน คนรุ่นบุกเบิกมีประสบการณ์ มีความเก๋าในการตัดสินใจ เวลามีเรื่อง เขาสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วแล้วก็ปลอดภัย ส่วนคนรุ่นใหม่ ก็มีความรู้ มีแรง มีเทคโนโลยีที่ทำให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ก็เลยร่วมมือกับคุณเจน พี่สาว (ธณัทร์ษริน สุสมาวัตนะกุล) สร้างฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ขึ้น จากที่เดิมมีแค่อาซ้อ อาเฮีย 2 คน ตอนนี้ก็เริ่มมีโครงสร้างองค์กร เริ่มแบ่งแผนก มีเอชอาร์ มีมาร์เกตติ้ง มีเทรนนิ่งเรื่องจิตใต้สำนึก เพิ่มการสื่อสารให้พนักงานเห็นคุณค่ากันและกัน ทำให้ทำงานร่วมกันได้ พูดตรงๆ ได้ บอกได้ว่าตัวเองต้องการอะไร อีกฝ่ายเขาก็บอกได้เหมือนกันว่าเขาตอบสนองให้ได้ไหม
ความเปลี่ยนแปลง
หลังจากเริ่มจัดเทรนนิ่งเห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนมาก เมื่อก่อนเดินเข้าบริษัท จะมีความอึมครึม ทุกคนง่วนกับงานตัวเอง ซึ่งพอข้างในเต็มอย่างนี้จะรับสถานการณ์ข้างนอกไม่ได้ เหมือนเก็บขยะสะสมไว้ พอเจอเรื่องใหม่จะรับไม่ได้ คอยแต่คิดวนเรื่องเดิมๆ ก็เลยไม่ได้เจออะไรใหม่ๆ ไม่ได้มีวิธีใหม่ในการบริหารจัดการ ตอนแรกพนักงานยังไม่เข้าใจว่าเรียนไปเพื่ออะไร แต่เนื่องจากจิตวิทยามันคือกระบวนการของสมอง ถ้าเรียนตรงนี้ มันก็ไปใช้ได้กับเรื่องอื่นๆ ของชีวิตด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องงาน พอตัวเองเรียนรู้ที่จะเข้าใจตัวเอง ก็ทำให้สามารถเข้าใจคนอื่นได้ เข้าใจครอบครัวได้ พอครอบครัวมีความสุข ก็มาทำงานได้อย่างมีความสุข
โมเดลสร้างองค์กร
เริ่มแรกตัวเราเองได้เรียนจิตวิทยาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะทำให้เราชื่นชมในหลายๆ สิ่งที่เรามี ทำให้เราเห็นว่าชีวิตไม่ได้มีแค่เรื่องงานกับเรื่องเงิน แต่ยังมีเรื่องความรัก เรื่องครอบครัว เรื่องการได้ดูแลตัวเอง เรื่องการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีแง่มุมหลากหลายที่สร้างความสุขได้ มันเป็นทั้งหลักการจัดการโลกภายในและโลกภายนอกซึ่งพอเข้าใจแล้วช่วยให้ชีวิตมันเติมเต็ม ก็เลยอยากส่งต่อให้กับพนักงาน เพราะสุดท้ายบริษัทก็คือพนักงาน แล้วพนักงาน 200 ชีวิตไม่ได้หมายความแค่ 200 คน แต่อาจหมายถึงครอบครัวเล็กๆ ของเขาด้วย การดูแลพนักงานจึงเหมือนการได้ดูแลส่วนเล็กๆ ในสังคม เราเลยคิดเป็นโมเดล Superrich Life ทำพนักงานให้มีความสุข แล้วเขาก็ส่งต่อบริการที่ดีไปถึงลูกค้าของเราได้
ปรับตัวตามลูกค้า
เราคิดมาตั้งแต่แรกว่าจะเปลี่ยนธุรกิจตามไลฟ์สไตล์ลูกค้าที่เปลี่ยนไป เดี๋ยวนี้คนจะทำอะไรในที่ที่เดียวเป็น one stop เพื่อประหยัดเวลา ดั้งนั้นการมี 2 สาขาอย่างเดิมคงไม่สะดวก จึงเริ่มขยายไปตามจุดที่เราเห็นว่าลูกค้าเราไปใช้ชีวิตอยู่ เพิ่มเป็น 15 สาขาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก่อนจะขยาย การสื่อสารภายในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าจะไปเปิดสาขาข้างนอก ก็ต้องถามภายในเขาว่าพร้อมไหม อย่างเรื่องเรท ที่คุณพ่อตั้งใจให้ลูกค้าได้เรทที่ดีที่สุด ก็ต้องมีการบริหารจัดการภายในเพื่อให้ทุกสาขาแลกเงินในเรทเท่ากันให้ได้ หรือปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมีข้อมูลเร็วขึ้น ก็ต้องปรับให้ทัน เมื่อก่อนปรับเรทวันละแค่ 1-2 ครั้ง แต่ว่าตอนนี้ปรับตลอดเหมือนราคาหุ้นไม่รู้กี่รอบต่อวัน
การเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด คือการเตรียมคนของเราให้ปรับตัวได้เร็วเวลามีเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่นรัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิกธนบัตรมีผลตอนเที่ยงคืน โดยไม่มีเวลาให้เราจัดเตรียมได้เลย แต่พอเกิดขึ้นแล้ว จะมัวแต่โทษรัฐบาลไม่ได้ ต้องยอมรับแล้วมองว่าจะเดินไปทางไหนต่อ แจ้งลูกค้ายังไง สูญเสียเท่าไหร่ เรารับได้เท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายเราก็ผ่านมาได้แบบไม่ได้ใช้เวลามากนัก
มากกว่าแลกเงิน
ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่เรทดีที่สุด แต่ลูกค้ายังต้องการบริการ ประสบการณ์อื่นๆ ด้วย พอเป็น Superrich Life จะต้องไม่ใช่แค่เงินอย่างเดียว แต่มีเรื่องอื่นๆ ด้วย ลูกค้าเดินเข้ามาด้วยอารมณ์ยังไงก็ตาม แต่พนักงานเรารับมือได้ และส่งเขาออกไปพร้อมกับรอยยิ้มได้ นอกจากนั้น เราก็จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเติมเต็มชีวิตส่วนอื่นๆ ของลูกค้า เช่น ให้ไปดูโชว์ ไปดูพิพิธภัณฑ์ มีสิทธิพิเศษของสายการบินแต่ละกลุ่ม ฯลฯ
เตรียมคนเพื่อวิกฤต
การเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด คือการเตรียมคนของเราให้ปรับตัวได้เร็วเวลามีเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่นรัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิกธนบัตร มีผลตอนเที่ยงคืน โดยไม่มีเวลาให้เราจัดเตรียมได้เลย แต่พอเกิดขึ้นแล้ว จะมัวแต่โทษรัฐบาลไม่ได้ ต้องยอมรับแล้วมองว่าจะเดินไปทางไหนต่อ แจ้งลูกค้ายังไง สูญเสียเท่าไหร่ เรารับได้เท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายเราก็ผ่านมาได้แบบไม่ได้ใช้เวลามากนัก
ตอนเดินขึ้น เราใช้เวลา 7-8 วันกว่าจะถึงยอด แต่พอไปถึงยอด เราก็ต้องเดินลงจากยอดหนึ่ง เพื่อที่จะไปขึ้นอีกยอด มันก็เหมือนกับการประสบความสำเร็จ สุดท้ายเราก็ต้องกลับมาเริ่มเดินทางใหม่เพื่อที่จะไปให้ถึงอีกเป้าหมายหนึ่ง เรารู้สึกว่านี่คือการเรียนรู้ชีวิตจริงผ่านการเดินทางที่ไม่ใช่แค่ฟัง หรือจำคำพูดมาเท่านั้น
เรียนรู้สิ่งใหม่
เป็นคนชอบลอง ชอบกิจกรรมแอคทีฟ เล่นกีฬาหลายอย่าง เพราะรู้สึกว่าเวลาเราไปทำอะไรที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน มันได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ ได้เห็นอะไรใหม่ๆ เจอคนใหม่ วัฒนธรรมใหม่ เห็นชีวิตมากขึ้น ถ้าไปกับเพื่อนก็จะได้มิตรภาพกลับมามากขึ้นด้วย ไม่งั้นจะเหมือนเราอยู่แต่ในน้ำถังเดิมๆ เป็นน้ำไม่ไหล เป็นน้ำที่เน่า ถ้าได้ออกไปเจออะไรข้างนอก มันก็จะสดชื่นกว่า อย่างช่วงหลังไปลองเดินปีนเขาที่เวียดนาม ไป Base Camp ที่เนปาล ทำให้เห็นสิ่งที่คนพูดกันว่าเราอยู่ที่สูงที่สุดไม่ได้ตลอดไป ตอนเดินขึ้น เราใช้เวลา 7-8 วันกว่าจะถึงยอด แต่พอไปถึงยอด เราก็ต้องเดินลงจากยอดหนึ่ง เพื่อที่จะไปขึ้นอีกยอด มันก็เหมือนกับการประสบความสำเร็จ สุดท้ายเราก็ต้องกลับมาเริ่มเดินทางใหม่เพื่อที่จะไปให้ถึงอีกเป้าหมายหนึ่ง เรารู้สึกว่านี่คือการเรียนรู้ชีวิตจริงผ่านการเดินทางที่ไม่ใช่แค่ฟัง หรือจำคำพูดมาเท่านั้น
สมบัติอันมีค่า
สิ่งที่แพมได้รับจากคุณพ่อคือการดูแลคน คุณพ่อดูแลพนักงานเหมือนลูกเหมือนหลาน ทำให้เกิดวัฒนธรรมภายในองค์กรที่สั่งสมมา พอรุ่นแรกได้รับมาเขาก็ส่งต่อให้รุ่นน้องต่อไป เป็นความอบอุ่นเหมือนอยู่ในครอบครัว พอเราหลอมรวมวัฒนธรรม และประสบการณ์เหล่านี้เข้ากับแนวคิดบริหารจัดการสมัยใหม่ก็ทำให้เกิดความเป็นมืออาชีพขึ้นมา ก่อนหน้านี้แพมไม่เคยเข้าใจเลยว่าดูแลใคร ทำไม เพราะเราไม่เห็นคุณค่า พอโตขึ้นถึงได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เพราะเคยมีพนักงานเดินมาขอบคุณและบอกว่าเขาภูมิใจ และดีใจที่ได้ทำงานและอยู่ในองค์กรแบบนี้ เราซาบซึ้งกับสิ่งที่เขามอบให้แบบอธิบายไม่ได้ ทำให้เห็นเลยว่าเงินซื้อใจคนไม่ได้ จะมีเงินที่ไหนไปซื้อคนเหล่านี้ที่เขามีใจทุ่มเทรักองค์กรแบบนี้
เขาเป็นสมบัติอันมีค่าในองค์กรจริงๆ
■
รู้จักกับ สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล
จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้าน Marketing Management ที่มหาวิทยาลัย Kingston University London ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซุปเปอร์ริช (ไทยแลนด์) จำกัด